(มีคลิป) ชีวิตวิถีใหม่ ไม่ส่งต่อขยะโควิด

โควิด  ชีวิตคุณเปลี่ยนไปยังไงบ้าง?
รู้ไหมว่า…วันหนึ่งคนไทยสร้างขยะมากแค่ไหน?
คนไทย 1 คน สร้างขยะ กว่า 1 กิโลกรัม ต่อ วัน
66 ล้าน คน สร้างขยะ กว่า 68,000 ตัน ต่อวัน
รวมทั้งปี คนไทยสร้างขยะ กว่า 24 ล้านตัน
และเป็นขยะพลาสติกมากถึง 2.76 ล้านตัน
ที่สำคัญคือ กว่าร้อยละ 70 เป็นขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
พบขยะตกค้างในระบบนิเวศชายฝั่งทะเล กว่า 3 ล้านชิ้น
โดยเป็นขยะพลาสติกถึง 83%  เช่น  ขวดเครื่องดื่มพลาสติก
ถุงพลาสติกหูหิ้ว ถุงและกล่องใส่อาหาร 
ทั้งหมดนี้ คือ ขยะที่เพิ่มขึ้นด้วยมือของพวกคุณ

เมื่อวิกฤต (ขยะ) ซ้อน วิกฤต (โควิด)

การแพร่ระบาดของโควิด-19 และพฤติกรรมการใช้วิถีชีวิตแบบใหม่ ทำให้ประเทศไทย มียอดการสั่งฟู้ดเดลิเวอรี่สูงขึ้น สิ่งที่ตามคือ “ขยะพลาสติก” เพิ่มขึ้นถึง 550 ล้านชิ้นต่อปี  รวมถึงมีขยะติดเชื้อที่เกิดจาก “หน้ากากอนามัย”  ใช้แล้ว ประมาณ 1.5 – 2 ล้านชิ้นต่อวัน  ซึ่งส่วนใหญ่ถูกทิ้งปะปนรวมกับขยะมูลฝอยทั่วไป

จากสถานการณ์โควิด-19 จนถึงปัจจุบัน

193 ประเทศทั่วโลก สร้างขยะพลาสติกจากโควิดกว่า 8.4 ล้านตัน  โดยมากกว่า 25,900 ตันถูกทิ้ง  หรือรั่วไหลลงไปสู่ทะเลและมหาสมุทร  เทียบเท่ากับรถบัสกว่า 2,000 คัน  46% ของขยะพลาสติก ที่ไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง มาจากเอเซียซึ่งยังสวมหน้ากากอนามัยเป็นจำนวนมาก หน้ากากอนามัยลอยในทะเลไม่ต่างจากแมงกะพรุน ถุงมือยางกระจายทั่วท้องมหาสมุทร  หน้ากากอนามัยกว่า 70 ชิ้น พัดเกยขึ้นชายฝั่งหมู่เกาะโซโก และ 30 ชิ้น บนชายหาดบนเกาะกลางทะเลที่ไม่มีคนอยู่อาศัย  สัตว์ป่ากว่า 900 ตัว ติดอยู่ในขยะหน้ากากอนามัย และส่วนใหญ่ คือ นก ที่โดนสายคล้องหน้ากากอนามัยใช้แล้วทิ้งพันติดอยู่ที่ขา

ขยะมหาศาลที่เกิดขึ้นหลังวิกฤตโควิดนี้  ถ้าหากทุกคนยังไม่ตระหนักถึงปัญหา ปล่อยให้ขยายตัวเพิ่มอย่างไม่มีที่สิ้นสุด  ไม่มีการจัดการขยะอย่างถูกวิธี  เกิดการตกค้างในระบบนิเวศ   เกิดมลพิษในแหล่งน้ำและน้ำใต้ดิน ถูกพัดพาลงสู่แหล่งน้ำ เป็นเส้นทางลงสู่ทะเล  เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต กลายเป็น วิกฤต (ขยะ) ซ้อน วิกฤต (โควิด)

ถึงเวลาที่เราต้องปรับเปลี่ยน วิถีชีวิตใหม่  ให้ความสำคัญกับการ “ลด” และ “คัดแยกขยะ”

  • ลด” ลดการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง หรือ Single-use Plastic ที่ใช้ง่าย แต่ย่อยสลายช้า” เช่น ถุงหูหิ้ว กล่องหรือถุงพลาสติก ช้อนส้อมพลาสติก
  • แยก”  คัดแยก “ขยะพลาสติก” ที่ใช้แล้ว  แยกเศษอาหาร ล้างทำความสะอาดบรรจุภัณฑ์ และตากให้แห้ง รวบรวม ไปส่งที่จุดรับคืน Drop point  เช่น  ถังวนถุง ในห้างสรรพสินค้า ใน กทม.และปริมณฑล  , ถังเติมบุญที่หน่วยงานในสังกัด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • “แยก” คัดแยก “หน้ากากอนามัย” ให้ถูกวิธีและใส่ถุงระบุให้ชัดเจน แล้วทิ้งในถังขยะติดเชื้อ เพื่อความปลอดภัยต่อเจ้าหน้าที่จัดเก็บขยะและคนในชุมชน

ชีวิตวิถีใหม่ ไม่ส่งต่อขยะโควิด

ร่วมแสดงความคิดเห็น